เวลาทำการ

11.00 - 20.00 วันอังคาร - วันอาทิตย์

ติดต่อสอบถาม

phone 064-654-6414
login

ปัจจุบันสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะนิสิต นักศึกษาและสาวออฟฟิศที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงถึงแม้มันจะทำให้เขารู้สึกเจ็บหรือปวดเท้าทรมานก็ตาม การบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใส่รองเท้าส้นสูง สามารถเกิดได้หลายๆ ตำแหน่งตั้งแต่เท้า ข้อเท้า เข่า ไปจนถึงหลัง ทั้งในส่วนของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อต่อ และเส้นประสาท ซึ่งการบาดเจ็บนี้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน บางคนใส่เป็นครั้งคราวก็อาจไม่มีปัญหาใดใด แต่สำหรับผู้หญิงที่จำเป็นต้องใส่ติดต่อกันทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณต่างๆตามมาได้

นพ. ธรรมสรณ์ เจษฎาเชษฐ์หรือหมอตั้ม แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท เปิดเผยว่าขณะที่ใช้รองเท้าส้นสูง ส้นเท้าจะถูกยกและปลายเท้าวางต่ำ(คล้ายคนเขย่งเท้า) จะส่งผลให้จุดสมดุล และ แนวแรงในการลงน้ำหนักตามข้อต่อและอวัยวะต่างๆ ถูกเปลี่ยนโดยอัตโนมัติเพื่อรักษาสมดุลของร่างกายใหม่ การเปลี่ยนแปลงนี้ เมื่อสะสมไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณต่างๆได้

womenleg-4 (1)

เท้า มีการศึกษาว่าความสูงของรองเท้า 1 นิ้วจะทำให้ปลายเท้าเรารับน้ำหนักเพิ่มขึ้น 22% , 2 นิ้ว รับน้ำหนัก 57% และ3 นิ้วรับน้ำหนักถึง 76% การรับแรงกดที่เพิ่มมากเกินไปจะทำให้เจ็บฝ่าเท้าและอาจทำให้เส้นประสาทใต้ฝ่าเท้าบริเวณนั้นมีอาการอักเสบ รู้สึกปวดแสบร้อนได้ อีกทั้ง ลักษณะของรองเท้าส้นสูงมักจะหัวแหลม,แคบและเล็ก อาจทำให้มีอาการปลายนิ้วเท้าเอน งอและจิกผิดรูป บางคนอาจจะมีแผลกดทับบริเวณโคนนิ้วโป้งเพราะถูกบีบจากการใส่รองเท้าหัวแหลม

2. เส้นเอ็นใต้ผ่าเท้า จะถูกยืดตลอดเวลาที่เราใส่รองเท้าส้นสูง อาจทำให้เกิดโรครองช้ำอักเสบตามมา
3. ข้อเท้า ลักษณะของรองเท้าที่ไม่หุ้มข้อและสูงแหลมเรียวบริเวณส้นเท้า จะทำให้มีโอกาสข้อเท้าพลิกขณะยืนและเดินได้ง่าย
4. กล้ามเนื้อน่อง การใช้รองเท้าส้นสูง เสมือนกับการเขย่งเอาส้นเท้าขึ้นตลอดเวลา ภาวะนี้ กล้ามเนื้อน่องจะทำงานหนักอาจก่อให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อน่อง บางครั้งเป็นสาเหตุของตะคริวได้
5. ข้อเข่า จุดลงน้ำหนักบริเวณเข่าที่เปลี่ยนไปจากจุดเดิมที่ควรจะเป็น ทำให้ข้อเข่าทำงานมากขึ้นบางคนอาจจะเจ็บข้อเข่า
6. กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง เมื่อเราใส่รองเท้าส้นสูงลำตัวส่วนล่างจะถูกดันไปด้านหน้า กล้ามเนื้อหลังจะทำหน้าที่พยุงลำตัวส่วนบนไปด้านหลังเพื่อรักษาสมดุลไม่ให้ล้ม (คล้ายคนที่ต้องแอ่นหลังมากขึ้น) เป็นผลให้กล้ามเนื้อหลังเราทำงานหนักมากขึ้น บางคนจึงมีอาการปวดหลังตามมาเช่นกัน

วิธีการป้องกันและดูแลตนเองจากการใส่รองเท้าส้นสูง

aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2NhLzAvdWQvMjc4LzEzOTQyMDEvaGgoMilfMS5qcGc=


1. ใช้รองเท้าส้นสูงแต่พอดี เลือกใช้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ที่เราต้องใส่ แล้วหารองเท้าสำรองที่ใส่สบาย พื้นหนา นุ่ม มาสลับเปลี่ยนช่วงเวลาที่ไม่จำเป็นต้องใช้ส้นสูง
2. ยืดกล้ามเนื้อ ในส่วนของน่องและหลังบ่อยๆช่วยลดผลกระทบจากการใส่รองเท้าส้นสูง
3. หาแผ่นรองเสริม รองเท้า ในจุดที่รู้สึกอ่อนไหวต่อการลงน้ำหนักของเท้าเจ็บง่าย หรือมีแผล แผ่นรองเสริมรองเท้าจะเป็นลักษณะซิลิโคนหรือแผ่นเจลช่วยรองรับแรงกดทับของน้ำหนักบริเวณส้นเท้า ปลายเท้า สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป
4. เลือกรองเท้า หากจำเป็นต้องใส่รองเท้าส้นสูงจริงๆในหน้าที่การงาน เลือกรองเท้าส้นสูงที่ไม่เกิน 2 นิ้ว ,หัวรองเท้าที่มีการเปิดปลายนิ้วเท้า เพื่อลดการรับน้ำหนักที่มากเกินไปของปลายเท้าและช่วยลดการบีบรัดและจิกเกร็งที่นิ้วเท้า

** ในกรณีที่มีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นแล้ว ลองงดการใช้รองเท้าส้นสูง หากยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์จะมีคำแนะนำและอุปกรณ์ที่ใช้รักษาตามอาการที่เราเป็น หรือปรึกษาคุณหมอตั้มได้ที่เพจเฟซบุ๊ก : Dr.Tham-Thammasorn